พระพรหมเวที
ชื่อ พระพรหมเวที ฉายา ชวนปญโญ อายุ ๖๗ ปี พรรษา ๔๖วิทยฐานะ ป.ธ.๙ วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
- เป็นเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม
- เป็นเจ้าคณะภาค ๘
- เป็นกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
- เป็นที่ปรึกาของคณะกรรมการบริหารโครงการบ้านพักและศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัด เฉลิมพระเกียรติ ของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสสดิการสังคม
- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕
- เป็นคณะกรรมการฝ่ายศาสนศึกษาของมหาเถรสมาคาม
- เป็นคณะกรรมการอำนายการอนุรักษ์และพัฒนพุทะมณฑล่ายสงฆ์
- เป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขคณะกรรมการช่วยเหลือและสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรและวัดที่ประสบสาธารณภัยและขาดแคลนปัจจัยสี่
- เป็นกรรมการพิจารณายกวัดราษฏร์เป็นพระอารามหลวง
- เป็นคณะกรรมการพิจารราการตั้งชื่อวัด เพื่อกลั่นกรองนำเสนอมหาเถรสมาคม
- เป็นประธานกรรมการประสานงานศูนย์สงเคราะห์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- เป็นรองประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา
สถานะเดิม ชื่อ สนิท นามสกุล วงษา เกิดวัน ๓ ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย
วันที่ ๑๗ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ บิดา นายแหนบ มารดา นางไสว บ้านหมู่ที่ ๖ เลขที่ ๒๘ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา
บรรพชา วัน ๓ ๕ ค่ำ ปีมะแม วันที่ ๑๙ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา พระอุปัชฌาย์ พระอดุลสารมุนี วัดท่าเกวียน
ตำบลพนม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
อุปสมบท วัน ๒ ๕ ค่ำ ปีเถาะ วันที่ ๑๕ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา พระอุปัชฌาย์ พระอดุลสารมุนี วัดท่าเกวียน
ตำบลพนม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๕๐๗ สำเร็จชั้น ม.ศ. ๓ โรงเรียนปริยัติธรรม
วัดไตรมิตรวิทยาราม (สาขา ๑ วัดท่าเกวียน) เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบได้ น.ธ.เอก วัดท่าเกวียน สำนักเรียนคณะ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พ.ศ. ๒๕๑๙ สอบได้ ป.ธ. ๙สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๕๔๑ รับพระราชทานปริญญาครุศาสตรบัณฑิต
กิตติมศักดิ์
ความชำนาญการ มีความรู้ความชำนาญในงานเลขานุการ
งานปกครอง
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นเจ้าคณะเขตป้อมปราบ ฯ – ปทุมวัน
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นเจ้าคณะภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นหัวหน้าพระธรรมฑูตสายที่ ๕
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศ
สำหรับพระภิกษุ-สามเณร (ศ.ต.ภ.)
พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระภิกษุ ๔๔ รูป สามเณร ๖๘ รูป
งานการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๑–๒๕๓๑ เป็นผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๕๐๘–๒๕๓๖ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๑๓–๒๕๓๖ เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๓๘ เป็นกรรมการตรวจร่างเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง ประโยคป.ธ. ๙
พ.ศ.๒๕๓๕–๒๕๔๔ ได้ดำเนินการจัดสร้างศูนย์กลางศึกษา พระปริยัติธรรมซึ่งเป็นศูนย์การศึกษาของวัดไตรมิตรวิทยาราม ในท้องที่บ้านซับสวอง ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บนพื้นที่ ๗๓ไร่เศษและได้ดำเนินการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี ตังแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา
งานเผยแผ่
พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึงปัจจุบัน เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรม สวนะและวันเทศกาลเป็นประจำตลอดมาให้การอบรมศีลธรรม ได้ทำการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียน ศิษย์วัดและผู้อยู่อาศัยในวัดเป็นประจำ และจัดให้มีพระภิกษุสอนศีลธรรมแก่นักเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และโรงเรียนมหาวีรานุวัตรตามตารางสอนที่ทางโรงเรียนจัดถวายทุกปี
-- จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ได้จัดทำ
การอบรมประชาชน นักเรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอน ให้สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันในวันสำคัญๆ ของประเทศชาติ
-- ให้ความร่วมมือกับทางการคณะสงฆ์ หรือทางราชการในการเผยแผ่ได้รับมอบหมายให้นำข้อสอบธรรมสนามหลวง และข้อสอบบาลีสนามหลวง ไปดำเนินการเปิดสอบในจังหวัดในเขตปกครองภาค ๘ เป็นผู้ช่วยดำเนินการจัดตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงชั้นตรี และธรรมศึกษาชั้นตรี ในเขตภาค ๘ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และในฐานะเป็นเจ้าสำนักเรียนเป็นสถานที่จัดสอบธรรมสนามหลวง และบาลีสนามหลวง ก็ดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของสนามหลวงด้วยดีทุกประการ
งานสาธารณูปการ
หลังจากได้รับราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปริยัติโสภณ แล้ว ได้ดำเนินการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่เกิดศรัทธาปสาทะของสาธุชนทั่วไป รวมค่าก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นจำนวนเงินประมาณทั้งสิ้น ๓๑,๑๐๑,๑๐๒ บาท (สามสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนหนึ่งพันหนึ่งร้อยสองบาทถ้วน) งานสาธารณูปการที่ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยารามเขาแม่ชี ปากช่อง นครราชสีมา ร่วมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน ๒๙,๖๕๑.๐๕๑ บาท
งานศึกษาสงเคราะห์และสาธารณสงเคราะห์
ได้เป็นกรรมการกองทุนของพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีรเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ให้การสงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาและทุนอาหารกลางวันแก่นัก
เรียนอุดมศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทุนเข้าสมทบและเป็นผู้พิจารณาผู้เข้ารับทุน ได้จัดมอบทุน
แก่นักเรียนนักศึกษา โรงเรียนต่างๆ และได้มอบเป็นรางวัลสำหรับอาจารย์ที่มีความขยัน ไม่ขาดไม่ลาตลอดจนถึงพนักงานขับรถโรงเรียนนักการภารโรงโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยและโรงเรียนมหาวีรานุวัตร
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวีราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวีราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปัญญาเมธี
พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปริยัติโสภณ
พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมเวที
ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจาร สุวิธานปริยัติกิจ
ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ |