พระวิสุทธาธิบดี
สังเขปประวัติ
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีรมหาเถร)
เปรียญธรรม ๗ ประโยค พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม
เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะใหญ่หกตะวันออก
กรรมการมหาเถรสมาคม
----------------------------------------------------------------
1 ชาตกาล
พระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี นามเดิม ไสว นามสกุล วีรธรรมานุศาสก์ ชาตะ วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๘
ปีกุน ที่บ้านคลองสวน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตร นายแฉ่ง นางแช่ม อาชีพค้าขาย
2 บรรพชา
พระเดชพระคุณ ฯ บรรพชาเมื่อ วันเสาร์ ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ ปีขาล ที่วัดเปร็งราษฎร์บำรุง ตำบลเปร็ง
อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มี พระครูศรีวรพินิจ (ยุ้ย อันุทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
3 อุปสมบท
พระเดชพระคุณ ฯ อุปสมบท วันเสาร์ ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ณ อุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม แขวงตลาดน้อย
เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ สิสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต ทรงเป็น
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โป๊ะ ธมฺมสโร วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกา ขำ อินฺทโชติ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอนุ สาวนาจารย์ สำเร็จญัตติจตุตถกรรม เวลา ๑๔.๒๐ น. ได้ฉายาว่า ฐิตวีโร
4. วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบได้นักธรรมเอก
พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค
วุฒิพิเศษ
พระเดชพระคุณ ฯ เป็นผู้สนใจใคร่ต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยได้พยายามขวนขวายศึกษาวิชากฎหมาย และวิชาภาษาอังกฤษ จนมีความรู้
ความเข้าใจเป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิชากฎหมายนั้น มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกว้างขวางในตัวบทกฎหมายและได้ให้ความรู้ความเข้าใจในวิชาด้าน
กฎหมายโดยนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการพระศาสนา ทำให้การคณะสงฆ์ที่ได้รับภาระธุระนั้นสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี จึงได้รับแต่งตั้งเป็น หัวหน้า
คณะวินัยธร ชั้นอุทธรณ์ อนึ่งได้รับแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคมให้เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม และเป็นคณะอนุกรรมการต่าง ๆ หลายคณะ เช่น คณะ
อนุกรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลางประจำ (พ.ศ.ป.) ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ ครั้นต่อมาได้รับพระ
บัญชาให้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ก็ได้รับความไว้วางใจจากมหาเถรสมาคมให้เป็นคณะอนุกรรมการในการร่างกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วย
การลงนิคหกรรม (พ.ศ. ๒๕๒๑) ให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและถูกต้อง และยังได้เป็นกรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลางประจำ ตลอดถึงได้รับความไว้
วางจากมหาเถรสมาคมครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๓๑ เป็นอนุกรรมาธิการพิจารณา เรื่อง ศาสนสมบัติ ตามที่ทางสภาผู้แทนราษฎรได้ขอมา
และยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการอีกหลายคณะ เพราะมีความรู้ความสามารถอย่างดียิ่งทั้งคดีโลกและคดีธรรม จึงได้รับการยกย่องจากมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมอบปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๑
5. การงาน
พระเดชพระคุณ ฯ ได้รับภาระธุระ ในการงานของคณะสงฆ์ ในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆพอจะสรุปได้ดังนี้.
พ.ศ. ๒๔๘๗ วันที่ ๑๒ มกราคม เป็นเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม
พ.ศ. ๒๔๘๙ วันที่ ๖ พฤศจิกายน เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอสัมพันธวงศ์ และบางรัก ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สัมพันธวงศ์ และบางรัก
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะผู้ตรวจการภาค ๒ รูปที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๙๙ วันที่ ๒๗ กันยายน เป็นหัวหน้าคณะวินัยธร ชั้นอุทธรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๙ วันที่ ๒ พฤศจิกายน เป็นสังฆมนตรี และเลขาธิการ ก.ส.พ. และได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีรวม ๓ สมัย
พ.ศ. ๒๕๐๑ วันที่ ๒๑ มกราคม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะเวลา ๘ ปี ถึง พ.ศ. ๒๕๐๘
พ.ศ. ๒๕๐๖ วันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ. ๒๕๑๔ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นเจ้าคณะภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๑๖ วันที่ ๖ มกราคม เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๑ วันที่ ๑๗ พฤศภาคม เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๗ วันที่ ๓๑ พฤศภาคม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
สรุปผลงานโดยย่อ
นับตั้งแต่พระเดชพระคุณ ฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้จัดการพัฒนาวัดด้วยการปรับปรุงเสนาสนะวัตถุ และระเบียบภายในวัดให้รัดกุมตามพระธรรมวินัย ตลอดถึงการบริหารหมู่คณะนับตั้งแต่เป็นเจ้าคณะอำเภอ ก็คอยดูแลการปกครองภายในอำเภอให้ดำเนินไปด้วยดี อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ก็ได้พยายามปรับปรุงเสนาสนะวัตถุภายในวัดให้เป็นระเบียบ พร้อมทั้งได้วางกฎเกณฑ์การรับพระภิกษุ สามเณร และได้วางรากฐานการศึกษาอีกด้วย ในหน้าที่ของสังฆมนตรี
ก็ได้ร่วมการประชุมคณะสังฆมนตรีอย่างสม่ำเสมอได้สนองงานของสังฆมนตรีเพื่อการพระพุทธศาสนามิใช่น้อย ในหน้าที่ เจ้าคณะภาคก็ได้จัดการอบรมพระสังฆาธิการให้เข้าใจในหน้าที่ ได้ช่วยแก้ไขข้อขัดข้องของพระสังฆาธิการในภาคให้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย ในหน้าที่กรรมการมหาเถรสมาคม ได้รับความไว้วางใจจากมหาเถรสมาคมให้เป็นกรรมการ
และอนุกรรมการในคณะต่าง ๆ ในหน้าที่ของเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้จัดการประชุมเจ้าคณะเขตทุกเดือน เพื่อให้เข้าใจในอำนาจหน้าที่ของตน ๆ และแก้ไขขอ้ขัดข้องของเจ้าคณะ
พระสังฆาธิการให้ดำเนินไปได้ด้วยดี และให้มีการประชุมระดับวัด และระดับแขวงในบางครั้งบางคราวอีกด้วย ในหน้าที่เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ได้ประชุมพระสังฆาธิการระดับภาค
ในเขตการปกครอง เพื่อปรึกษาหารือในการบริหารงานคณะสงฆ์ แก้ไขข้อขัดข้องต่าง ๆ ให้คลี่คลายไปในทางที่ดี และเรียบร้อยทุกประการ
สรุปงานด้านการศึกษาโดยย่อ
พระเดชพระคุณ ฯ มีความสนใจใส่ใจการศึกษาทั้งด้านคดีโลกและคดีธรรมเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ได้เปิดสำนักเรียนแผนกธรรมและบาลีขึ้นที่วัดไตรมิตรวิทยารามแล้ว ได้ทำการสอนนักธรรมและบาลีทั้งในเวลาเช้า บ่าย และเวลาค่ำ ด้วยตนเอง จนกระทั่งสามารถสอนพระภิกษุสามเณรในวัดเป็นมหาเปรียญมิใช่น้อย และยิ่งไปกว่านั้น ยังได้ขยายการศึกษาของสำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยารามด้วย โดยขยายเป็นสาขาที่ ๑ วัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาที่ ๒ วัดโสธรวราราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสาขาที่ ๓วัดกลางวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเริ่มจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในยุคนั้นเรียกว่า บาลีวิสามัญ โดยมีนโยบายว่า ให้พระภิกษุสามเณร
ในวัดนั้น ๆ เรียนได้ แม้ภิกษุสามเณรต่างวัดก็สามารถเรียนได้ แม้เด็กชายที่จบประถม ๔ ก็สามารถเรียนได้ แต่มีข้อแม้ว่า เด็กชายนั้นเมื่อเรียนถึงบาลีวิสามัญปีที่ ๓ ต้องบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อให้มีสิทธิ์สอบสมทบกับโรงเรียนรัฐบาล ต่อมาการศึกษาบาลีต้องเลิกไปเพราะมีผลจากการประกาศของทางการคณะสงฆ์ ซึ่งได้จัดตั้งการศึกษาบาลีมัธยมขึ้นใหม่ จึงได้ขอเปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่วัดไตรมิตรวิทยาราม โดยใช้หลักสูตรของกรมสามัญศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนอย่างใดทั้งสิ้น แต่มีข้อแม้ว่า พระภิกษุสามเณร
ที่จะเรียนในโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่นั้นจะต้องสอบได้ประโยค ๑-๒ เป็นต้นไป จึงมีสิทธิ์เรียน และต้องมีชั่วโมงเรียนบาลีอย่างน้อย ๘๐ % ของชั่วโมงการเรียนบาลี และต่อมาปรากฎว่า สำนักเรียนไตรมิตรวิทยาราม มีนักเรียนบาลีเป็นเปรียญเอกชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยคก็หลายรูปด้วยกัน และในปัจจุบันนี้ได้เปิดสอนบาลีถึงเปรียญธรรม ๗ ประโยค วิชาทางโลกโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ถึงระดับ ๕ (มัธยมปลาย) และเป็นสำนักเรียนแห่งเดียวในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรของกรมสามัญศึกษา และไม่เก็บค่าเล่าเรียนอย่างใดทั้งสิ้น และในฐานะเป็นพระสังฆาธิการระดับผู้บริหารของคณะสงฆ์ จึงเอาใจใส่ดูแลให็พระภิกษุสามเณรในวัดวาอารามต่าง ๆ ให้สนใจการเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามประกาศของมหาเถรสมาคม
นอกจากนี้ยังได้รับอาราธนาให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาการศึกษาของสงฆ์ และวิทยาลัยศรีอีสานอึกด้วย
<<กลับหน้าแรก>>
เข้าสู่หน้า กระดานบอร์ด
|